เฉลยใบงานภาษาไทย ป.6 ใบงานที่ 8 แผนภาพโครงเรื่อง พญากง พญาพาน | แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ป.6 ภาษาพาที | วิดีโอที่ดีที่สุด

เฉลยใบงานภาษาไทย ป.6 ใบงานที่ 8 แผนภาพโครงเรื่อง พญากง พญาพาน | แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ป.6 ภาษาพาที.

 

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ป.6 ภาษาพาที หรือข่าวที่เกี่ยวข้องอื่นๆ โปรดไปที่: cheerthaipower.com/video การกระทำ

เฉลยใบงานภาษาไทย ป.6 ใบงานที่ 8 แผนภาพโครงเรื่อง พญากง พญาพาน และรูปภาพที่เกี่ยวข้องแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ป.6 ภาษาพาที

เฉลยใบงานภาษาไทย ป.6 ใบงานที่ 8 แผนภาพโครงเรื่อง พญากง พญาพาน เฉลยใบงานภาษาไทย ป.6 ใบงานที่ 8 แผนภาพโครงเรื่อง พญากง พญาพาน

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ป.6 ภาษาพาที.

#เฉลยใบงานภาษาไทย ป.6 #พญากองพญาพัน แปลงพล็อต ..

>>> สามารถหาข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่นี่ cheerthaipower.com
แบ่งปันที่นี่

แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ป.6 ภาษาพาที – การค้นหาที่เกี่ยวข้อง.

#เฉลยใบงานภาษาไทย #ป6 #ใบงานท #แผนภาพโครงเรอง #พญากง #พญาพาน.

ใบงานภาษาไทย ป.6,เฉลยใบงานภาษาไทย ป.6,แผนภาพโครงเรื่อง พญากง พญาพาน

เฉลยใบงานภาษาไทย ป.6 ใบงานที่ 8 แผนภาพโครงเรื่อง พญากง พญาพาน

แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ป.6 ภาษาพาที.

ด้วย ข้อมูล ในหัวข้อ แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ป.6 ภาษาพาที นี้จะ มีประโยชน์ มาสู่คุณ ขอบคุณมาก.

พญากง พญาพาน เป็นเรื่องกล่าวขานจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนรุ่นหนึ่ง โดยการบอกเล่าสืบต่อกันมาอย่างแพร่หลายในแถบจังหวัดนครปฐมและพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณนครไชยศรี เมืองคูบัว และเมืองอู่ทอง อันมีสถานที่เชื่อมโยงกับตำนานนี้อยู่จนปัจจุบัน  เด่นชัดที่สุดคือพระปฐมเจดีย์ ซึ่งเชื่อกันว่าพญาพานสร้างขึ้นหลังจากกระทำปิตุฆาต

 

เรื่องย่อพอสังเขป

            ตำนานพญากง พญาพาน มีหลายสำนวน บางแห่งบันทึกเป็นลายลักษณ์ไว้โดยสะกดชื่อตัวละครต่างกัน แต่โดยรวมแล้วมีโครงเรื่องคล้ายคลึงกัน  มีสำนวนหนึ่งกล่าวไว้ว่า

            พญากงเป็นเจ้าเมืองนครไชยศรี เมื่อมเหสีประสูติพระโอรส โหรทำนายว่าเป็นผู้มีบุญมาเกิด แต่ต่อไปจะฆ่าพระองค์  พญากงจึงให้นำพระโอรสไปประหาร  มหาดเล็กสงสาร  นำพระโอรสใส่พาน (เป็นที่มาของชื่อ “พญาพาน”) ลอยน้ำไปตามชะตากรรม  ฝ่ายยายหอมพบเข้า จึงเลี้ยงดูให้ได้รับวิทยาการ  

ครั้นพญาพานเป็นหนุ่มจึงเข้าไปถวายตัวเป็นทหารในเมืองคูบัว  ต่อมาได้ชนช้างกับพญากงแล้วสังหารลง  ครานั้นเกิดลางว่าคงได้ฆ่าบิดาเสียแล้ว พาลไปโมโหยายหอมว่าปิดบัง จึงประหารยายหอมด้วย  ภายหลังสำนึกผิดจึงปรึกษาพระอาจารย์เพื่อแก้ไขไถ่บาป  โดยให้สร้างเจดีย์ใหญ่สูงเท่านกเขาเหิน (พระปฐมเจดีย์) เพื่อทดแทนคุณบิดา พร้อมกับสร้างเจดีย์ใหญ่อีกองค์ (พระประโทน) เพื่อทดแทนคุณยายหอม 

 

บันทึกนอกถิ่น

            ท่านแต่ก่อนที่ได้ทราบตำนานหรือเดินทางมาในถิ่นนี้ ได้บันทึกเรื่องพญากง พญาพาน ไว้หลายแง่มุม อาทิ 

เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) เรียบเรียง เรื่องพระปฐมเจดีย์ เมื่อปี ๒๔๐๘  บรรยายได้ถี่ถ้วนในด้านประวัติการก่อสร้าง รายละเอียด สัดส่วน เหตุการณ์  ขณะนั้นท่านสืบพบตำนานพระปฐมเจดีย์ ๕ ฉบับ คือ ฉบับพระยามหาอรรคนิกร  ฉบับนายทอง  ฉบับพระยาราชสัมภารากร (เทศ)  ฉบับพระยาวิเชียรปรีชา (น้อย) เจ้ากรมราชบัณฑิตฝ่ายพระราชวังบวรในรัชกาลที่ ๑  และฉบับตาปะขาวรอต  ซึ่งบันทึกเมื่ออายุ  ๗๙  ปี  ตาปะขาวรอตผู้นี้เชื่อกันว่าเกิดปี ๒๓๒๙ เป็นคนพระปฐมเจดีย์มาแต่บรรพบุรุษ  เนื้อหาในฉบับนี้ขยายความบุคคล สถานที่ได้ละเอียดลออ  โดยเฉพาะมูลเหตุการสร้างพระปฐมเจดีย์ซึ่งกล่าวว่าสร้างขึ้นโดยพญาพาน        

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท นิพนธ์ นิราศพระประธม เมื่อปี ๒๓๗๗–๒๓๗๙   ประกอบด้วยสำนวนโบราณ งดงามน่าสนใจศึกษายิ่งนัก  ท่านกล่าวถึงพญาพาลปลูกต้นโพ  แต่ต้นโพเตี้ยพิการเพราะมีกรรมที่พญาพาลปิตุฆาต         

หมื่นพรหมสมพัตสร (เสมียนมี) นายอากรเมืองสุพรรณบุรี ประพันธ์ นิราศพระแท่นดงรัง เมื่อปี ๒๓๗๙  บรรยายว่าพระยาพานสร้างพระปฐมเจดีย์เป็นยอดพระปรางค์ (สี) ทอง สูงเท่านกเขาเหิน

สุนทรภู่ ประพันธ์ นิราศพระประธม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕  พรรณนาพื้นที่ ประวัติ ความหมาย ได้ละเอียดมาก โดยเฉพาะต้นโพเตี้ย ท่านว่ามีขนาดใหญ่โตเท่ากับสามอ้อมของพ้อมสาน ปลูกอยู่บนโขดดิน  แต่พระยาพานฆ่าบิดาพระยากง ต้นโพจึงเตี้ยเพราะกรรม  ต่อมาสุจิตต์ วงษ์เทศ  ศิลปินแห่งชาติ เคยนำไปบรรจุทำนองเพลงสำเนียงมอญ เพื่อบันทึกเสียงเผยแพร่

หลวงจักรปาณี (ฤกษ์) ประพันธ์ นิราศพระปฐม เมื่อปี ๒๔๑๗  ท่านเดินทางในสมัยที่มีคลองเจดีย์บูชาแล้ว  ผ่านแยกลำน้ำห้วยจระเข้ มีด่านขุนพัฒน์ ฯลฯ ท่านขึ้นไปกราบพระบรมธาตุ กราบพระไสยาสน์หินอ่อนซึ่งสลักโดยช่างรามัญ  ท่านว่าพระยาพานสร้างเป็นยอดปรางค์ แต่ขณะนั้นรัชกาลที่ ๔ ได้บูรณะแล้ว  ท่านเปิดประเด็นว่าเรื่องนี้มีคนเล่าไว้แตกต่างกัน  ท่านเคยอ่านพบใน พงศาดารเหนือ มีเนื้อหายาวมาก

บทร้องพื้นบ้าน

                ในระดับพื้นถิ่น จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนเก็บรวบรวมข้อมูลบทร้องพื้นบ้านมาหลายสิบปีพบว่า มีนักเพลง  หมอทำขวัญ  ขอทาน ลิเก ละคร ฯลฯ รับการถ่ายทอดตำนานพญากง พญาพาน มาจากครูแต่ละรุ่น  บางท่านมีปฏิภาณสามารถด้นขึ้นสด ๆ เมื่อมีผู้ฟังเรียกร้อง เช่น

หมอเพลิน  เอี่ยมสวัสดิ์ (๒๔๒๙–๒๔๙๔) ชาวนครไชยศรี หมอทำขวัญนาคและผู้ประกอบพิธีกรรมโบราณต่าง ๆ  มีบทร้องเรื่องนี้เป็นทำนองเพลงแหล่ เนื้อหายืดยาวมาก ท่านได้ถ่ายทอดไว้แก่ศิษย์ย่านบ้านบางระกำ

ครูเฉลา  สุกกล่ำ พ่อเพลงปรบไก่ทรงเครื่องแห่งสระกระเทียม บทร้องเป็นทำนองเพลงปรบไก่ เนื้อความโยงถึงมูลเหตุการณ์สร้างพระปฐมเจดีย์ งานนมัสการกลางเดือนสิบสอง และวิถีชีวิตยุคนั้น

            ครูบุญช่วง  ศรีรางวัล (เกิด ๒๔๗๙) นักเพลงขอทาน ผู้มีจิตเป็นกุศลยิ่งใหญ่ผู้หนึ่งแห่งบ้านบางระกำ  บทร้องเป็นทำนองเพลงร่านิเกริง (หรือ “ราชนิเกริง” คือทำนองลิเก) ท่านมีความทรงจำเกี่ยวกับวรรณกรรมพื้นถิ่นจำนวนมาก

หมอวิไล  แก้วพารา หมอทำขวัญนาคแห่งบ้านบางระกำ  บทร้องเป็นทำนองเพลงแหล่  กล่าวถึงตอนต้นเรื่องที่พญากงดำรงชีวิตอยู่อย่างมีสุข จนเมื่อต้องนำพระโอรสพญาพานไปลอยน้ำ  มเหสีชื่อสุมาลีมีความทุกข์หนักในอันจะต้องอำลาโอรส  ทำนองเพลงแหล่ชุดนี้ท่านว่าเอาไว้สอนพ่อนาคให้รู้บุญคุณพ่อแม่

ครูยอด  คล้ายมงคล  นักพากย์หนังตะลุงย่านวัดบางพระ  บทร้องเป็นทำนองเพลงไทยสากลสำหรับพากย์หนังตัวตลกเพื่อสลับฉาก คั่นเรื่อง ค่าเวลา

 

งานประพันธ์พื้นถิ่นยุคปัจจุบัน

กาพย์พญากงพญาภาณ ประพันธ์โดย เทพ  สุนทรศารทูล  เมื่อปี ๒๕๓๗ ท่านได้ประดิษฐ์กาพย์ขึ้นใหม่ ๑๖ แบบ  นับว่ามีชั้นเชิงและเนื้อหายอดเยี่ยม ตอนต้นมีภาพโบราณสถาน โบราณวัตถุ รายละเอียดพื้นที่ ย่าน ชื่อบ้านนามเมือง ประวัติที่มา เช่น บางช้าง สามพราน (พญากงให้พรานสามคนไปหาช้างชั้นดีและไปพบช้างหัวเสือ จึงนำมาถวาย)

พระยาพาน พระยากง ประพันธ์โดย พงษ์อนันต์  สรรพานิช  เป็นบทละครสำหรับการแสดงแสงสีเสียง  รวมทั้งได้ประพันธ์ทำนองเพลงไทยสากลให้ตัวละครร้องประกอบ

นิทานพญากง พญาพาน ประพันธ์โดย มนัส  แก้วบูชา เป็นหนังสือเสริมความรู้แก่อนุชนเรื่องโบราณสถาน สิ่งแวดล้อม ภูมิทัศน์วัฒนธรรมในเมืองนครปฐมและที่เกี่ยวข้อง โดยสอดแทรกความรู้วิทยาการต่าง ๆ ที่คัดตัดตอนมาขยายความจากบทร้องพื้นบ้านในอดีต

เพลงตับเรื่องพญากง พญาพาน  ประพันธ์โดย มนัส แก้วบูชา  เป็นเพลงตับเรื่อง ประกอบการบรรยาย สำหรับฝึกให้อนุชนได้สำแดงกลวิธีเล่านิทานอย่างมีน้ำเสียง อารมณ์ สอดคล้องกันไปกับเนื้อเรื่อง โดยมีเพลงสำเนียงมอญโบราณบรรเลงลำลอง

ปั่น…ปั่น…ไปรู้จักพญากง พญาพาน  การจัดการตำนานเพื่อเรียนรู้และท่องเที่ยว

การเรียนรู้ตำนานพญากง พญาพาน อาจทำได้โดยจัดกิจกรรมเรียนรู้จากชุมชนที่ยังคงเล่าตำนานนี้และมีสถานที่สำคัญเชื่อมโยงกับความทรงจำ ผ่านเรื่องเล่า นิทาน  บทร้องพื้นบ้าน และงานประพันธ์พื้นถิ่น ที่ยังคงรักษาไว้ให้อนุชนได้เรียนรู้ รับรู้ และแลกเปลี่ยนกับคนภายนอก  แนวทางกิจกรรมที่ขอเสนอคือปั่นจักรยานเที่ยวชมในเขตเมืองนครปฐม บ้านแพ้ว โพหัก และคูบัว โดยนำแนวคิดเรื่องภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural landscape) มาผสม  

การจัดเส้นทางศึกษาตำนานพญากง พญาพาน คำนึงถึงการสัญจรในปัจจุบัน  จึงไม่สัมพันธ์กับลำดับเรื่อง  เส้นทางที่นำเสนอใช้เวลา ๒ วัน ๑ คืน มีจุดพักชมดังนี้

วันแรก  ๑. พระปฐมเจดีย์ ๒. วัดพระงาม ๓. วัดพระเมรุ  ๔. วัดพระประโทณเจดีย์ พระจุลประโทนเจดีย์ ๕. วัดธรรมศาลา  ๖. บ้านโพเตี้ย  ๗. บ้านบางช้าง  ๘. คลองพระยาพาน คลองพระยากง และคลองถนนขาด (ถนนฆาฏ) ๙. บ้านเนินพระ บ้านยายหอม ๑๐. คลองบ้านท่าแร้ง (อีรำท่าแร้ง) ๑๑. บ้านโพหัก  พักค้างแรม

วันที่สอง ๑๒. เมืองคูบัว  เดินทางกลับตามถนนเพชรเกษม  

ระหว่างเส้นทางอาจเชิญผู้รู้มาเล่าเรื่องหรือพ่อเพลงมาขับกล่อม เป็นกิจกรรมเรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน

กิจกรรมการเข้าถึงชุมชนที่มีตำนานพญากง พญาพาน เป็นไปเพื่อสื่อความหมายให้ได้เรียนรู้ว่า พื้นที่ใดมีสิ่งสำคัญ มีเหตุการณ์อะไร ใครกล่าวไว้อย่างไรบ้าง 

DLTV ภาษาไทย ป.6 นิทานพื้นบ้านการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง 17 มิย.2564

พระยากง พระยาพาน ตำนานสร้างพระปฐมเจดีย์

ตำนานพญากงพญาพาน เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่บอกเล่าและเชื่อมโยงที่มาของโบราณสถานและชื่อบ้านนามเมืองในภูมิภาคตะวันตก โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดนครปฐม เช่น พระปฐมเจดีย์ พระประโทณเจดีย์ เนินพระ บ้านสามพราน เนื้อหาแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของเมืองต่างๆ ในภูมิภาค ตลอดจนวิถีชีวิตในท้องถิ่น นอกจากนี้ตำนานพญากงพญาพาน ยังแพร่หลายและได้รับการเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ตราบจนปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงความนิยมที่สืบเนื่องมา ตำนานพญากงพญาพาน ด้วยเหตุนี้จึงสมควรได้รับการยกย่องเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ

 

 

12 thoughts on “เฉลยใบงานภาษาไทย ป.6 ใบงานที่ 8 แผนภาพโครงเรื่อง พญากง พญาพาน | แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ป.6 ภาษาพาที | วิดีโอที่ดีที่สุด”

  1. พี่คะสอนทำภาษาไทย ป.5 ได้ไหมคะเรื่องใบงานที่ 6 เรื่องการพูดแสดงความรู้และความคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและดู คะ🙏🙏😑

    Reply
  2. ทำไมตัวหนังสือเป็นอย่างไรอ่านไม่ออกเลยเรียนตามแทบไม่ทัน

    Reply
  3. 973956 173376Cheapest player speeches and toasts, or perhaps toasts. continue to be brought about real estate . during evening reception tend to be likely to just be comic, witty and therefore instructive as well. finest man speeches no cost 996032

    Reply

Leave a Comment