นายพงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์ เกษตรกรรุ่นใหม่ | พงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์

นายพงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์ เกษตรกรรุ่นใหม่


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

นายพงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์ เกษตรกรรุ่นใหม่

Club Farmday The Series ตอน ทำปุ๋ยง่ายๆ แบบไม่กลับกอง


สวทช. ได้สนับสนุนทุนวิจัยให้ ผศ.ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พัฒนานวัตกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง โดยใช้วัตถุดิบหลัก คือ เศษพืชและมูลสัตว์ ใช้เวลาผลิตเพียง 60 วัน ได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่อุดมด้วยธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช และมีคุณภาพสูงตามค่ามาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร ปัจจุบันนวัตกรรรมดังกล่าวได้รับการตอบรับจากเกษตรกรและขยายผลการใช้งานในวงกว้าง
“อยากให้ทุกคนเริ่มทำ เริ่มจากครอบครัวเรา ชุมชนเรา การทำปุ๋ยไม่ใช่เรื่องยาก ใช้วัตถุดิบที่มีและหาได้ง่ายในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเศษใบไม้ พืช ผัก เศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เศษอาหาร มูลสัตว์ ก็สามารถหาได้ง่ายอยู่แล้วในท้องถิ่น ถ้ามีปัญหาก็สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ง่าย ทำใช้เองได้ประโยชน์มาก สามารถลดต้นทุนการผลิตและค่อยๆ ลดการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก คนในครอบครัวก็จะมีสุขภาพที่ดีขึ้น และถ้าทำตามสูตร ไม่ลัดขั้นตอน ไม่รีบร้อน ก็สามารถผลิตปุ๋ยได้มาตรฐานและสร้างรายได้ได้อย่างแน่นอน”
ณัฐณิชา ใจการณ์ เกษตรกรผู้ใช้ และผลิต ปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกับกอง อ่านบทความต่อได้ที่
https://www.nstda.or.th/agritec/78featuredarticle/294fertilizerparttime.html
“ถ้าเป็นไปได้จะส่งเสริมให้เกษตรกรทำปุ๋ยเองด้วย เพื่อให้เกษตรกรรู้ว่าเศษวัสดุการเกษตรของเขามีประโยชน์ ไม่ใช่เผาทิ้ง ซึ่งทำให้เกิดปัญหาควัน และปุ๋ยที่ได้เอามาใช้ปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่เสื่อมโทรมหรือที่เกษตรกรทิ้งแล้ว ให้เกษตกรใช้ที่ดินนั้นได้อีก จะได้ไม่รุกล้ำพื้นที่ป่า”
วิทยา หวานซึ้ง กษตรกรผู้ใช้ และผลิต ปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกับกอง อ่านบทความต่อได้ที่
https://www.nstda.or.th/agritec/78featuredarticle/380fertilizercase
ดาวน์โหลดโบรชัว
https://goo.gl/7BLrqh

Club Farmday The Series ตอน ทำปุ๋ยง่ายๆ แบบไม่กลับกอง

Club Farmday ตอน รู้ปลูก รู้ขาย รู้จักใช้เทคโนโลยี


ข้อมูลเพิ่มเติม

บทความ \”ถอดความคิด “เกษตรรุ่นใหม่” กับวิถีทำเกษตรแบบกลุ่ม\”
https://www.nstda.or.th/agritec/78featuredarticle/453youngsmartthink
Facebook live \”Smart technology จำเป็นขนาดไหนกับการทำเกษตรปัจจุบัน\”
โดยพงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์ http://bit.ly/2XGneNS
Youtube \”ระบบน้ำเพื่อการเพาะปลูก\”
https://youtu.be/lkYCHUJJcg

“ปลิว” หรือ พงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์ เจ้าของฟาร์ม “แก้วพะเนาว์” ต.นาภู อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม เกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีแนวทางการทำเกษตรบนพื้นฐานหลักวิชาด้านเกษตรที่ร่ำเรียนมา บวกกับประสบการณ์ที่เรียนรู้จากประเทศอิสราเอล หลอมหลวมให้เขานำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้พลิกผืนดินแห้งแล้งบ้านเกิดกลายเป็นพื้นที่เพาะปลูกที่สร้างรายได้ และกลายเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรที่ขึ้นชื่อของจังหวัดมหาสารคาม
ไม่เพียงปรับเปลี่ยนพื้นที่ตัวเอง แต่เขาได้ขยายความรู้และสร้างเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจ 6 กลุ่มใน 6 หมู่บ้านของตำบลนาภู และกำลังขยับไปสู่การจัดตั้งเป็น “สหกรณ์”  
ความตั้งใจแรกที่กลับมาทำเกษตรบนพื้นที่ 7 ไร่ของครอบครัว “ปลิว” ต้องการทำให้เหมือนรูปแบบบริษัท จัดระบบการเพาะปลูกให้ครบวงจรในพื้นที่ ด้วยคิดว่าตัวเองทำได้
\”กลับมาทำที่บ้านก็ต้องทำของตนเองก่อน คนที่กลับมาแล้วทำให้ชุมชนได้เลย อันนั้นเขามีทุน ตอนที่เริ่มทำ คิดว่าจะบริหารตัวเองได้ แต่ปรากฏว่าเรารับความเสี่ยงคนเดียว เราดูแลไม่ไหว ต้องจ้างคน แล้วก็มาคิดว่าถ้าจะทำเป็นธุรกิจ ต้องมีวัตถุดิบ ซึ่งเราทำเองทั้งหมดไม่ได้”
และนั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ “ปลิว” เข้าไปเกี่ยวข้องกับ “ชุมชน” โดยเริ่มจากชุมชนหมู่ 17 ที่ติดกับพื้นที่ของเขา ปลิวเข้าไปชักชวนให้ปลูกผัก โดยให้ความรู้ทุกขั้นตอนการผลิต วางปฏิทินการเพาะปลูก กำหนดปริมาณผลผลิตที่ต้องการ จนเกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มวิสาหกิจปลูกผักอินทรีย์หมู่ 17 มีพื้นที่ปลูกผักรวม 10 ไร่ ซึ่งรูปแบบนี้เป็นการแบ่งโควต้าการผลิตให้เกษตรกรแล้วนำผลผลิตที่ได้มารวมกัน โดย “ปลิว” เป็นผู้เชื่อมโยงตลาด
กลุ่มวิสาหกิจปลูกผักอินทรีย์หมู่ 17 เกิดขึ้นหลังจากที่ “ปลิว” กลับมาทำเกษตรได้ 3 ปี ปัจจุบันเขาได้ส่งเสริมให้เกิดกลุ่มวิสาหกิจในตำบลนาภูอีก 5 แห่ง ประกอบด้วย กลุ่มปลูกผักหมู่ 8 กลุ่มเลี้ยงโคกระบือ กลุ่มธนาคารใบไม้ กลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ และกลุ่มหมู่บ้านทฤษฎีใหม่ ซึ่งล้วนเป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นจากที่ชุมชนเข้ามาขอคำแนะนำจากเขา
จากจุดเริ่มความคิดที่จะทำเกษตรในรูปแบบบริษัทในพื้นที่ของตนเอง ขยับสู่งานส่งเสริมชุมชนให้เกิดการรวมกลุ่ม ภารกิจ “ส่งเสริมชุมชน” ที่ไม่ได้เป็นหมุดหมายของการกลับมาทำเกษตร แต่ทุกวันนี้กลับกลายเป็นส่วนหนึ่งของ “ปลิว” ไปแล้ว และกลายเป็นจิ๊กซอว์สู่การสร้างสหกรณ์ของตำบล
“ความคิดนี้เกิดขึ้นหลังจากส่งเสริมชุมชนแรกและได้รู้จักคุณค่าของการส่งเสริม คนที่ได้สิ่งที่เราให้ เขามีความสุข เราก็มีความสุขกับเขา”
การเกิดขึ้นของกลุ่มวิสาหกิจทั้ง 6 กลุ่มที่ “ปลิว” เข้าไปเป็นที่ปรึกษา เป็นเหมือนจิ๊กซอว์ที่ “ปลิว” มองว่าจะนำไปสู่การจัดตั้งเป็น “สหกรณ์” จิ๊กซอว์แต่ละตัวเป็นต้นทางของวัตถุดิบในการปลูกผักทั้งเมล็ดพันธุ์ ขี้วัว หรือปุ๋ย ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากแต่ละกลุ่มจะถูกส่งเข้าสหกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมโยงตลาด
“การเป็นสหกรณ์มีคณะกรรมการบริหาร มีการตรวจสอบ มีความน่าเชื่อถือ ชุมชนมีส่วนร่วม คณะกรรมการได้รับค่าตอบแทน แต่หากเป็นกลุ่มวิสาหกิจ กรรมการไม่มีค่าตอบแทน คนทำก็ท้อ สุดท้ายก็ล้ม”
ทุกวันนี้ “ปลิว” ยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้แต่ละกลุ่ม เข้าไปช่วยคิด ให้ความรู้และแนะนำแนวทางให้กลุ่ม
“มาทำแบบนี้เหมือนจิตอาสา ไม่ได้อะไร แต่ได้ความสุข เป็นภาระมั้ย ถ้าว่างก็ไม่เป็นนะ อยากเห็นชุมชนทั้งหมดที่เราช่วยไปต่อได้ ก็เกิดความคิดแปลกๆ ว่า ถ้าเราไม่ทำ แล้วใครจะทำ ทำไปเถอะ เดี๋ยวก็ไม่อยู่แล้ว\”

Club Farmday ตอน รู้ปลูก รู้ขาย รู้จักใช้เทคโนโลยี

เกษตรไทยไอดอล I EP.111 ตอน ผักพื้นบ้านผสมผสาน 24 ก.ค.60


กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อำนวยการผลิต
ออกอากาศทุกจันทร์ เวลา 17.45 น. ทาง 9MCOT HD
https://web.facebook.com/kasetidol/

เกษตรไทยไอดอล I EP.111 ตอน ผักพื้นบ้านผสมผสาน 24 ก.ค.60

ถึงสื่อถึงคน ตอน ลุงสมพร ยอดระบำ


ติดตามการทำสวนสมรม หรือสวนผสมผสาน สวนดั้งเดิมของภาคใต้
โดยลุงสมพร ยอดระบำ บ้านสวนเลา ต.ทุ่งโพธิ์
อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช

ถึงสื่อถึงคน ตอน ลุงสมพร ยอดระบำ

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆCRYPTO

2 thoughts on “นายพงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์ เกษตรกรรุ่นใหม่ | พงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์”

  1. 442945 443518Immigration Lawyers […]the time to read or pay a visit to the content material or web sites we have linked to below the[…] 923352

    Reply

Leave a Comment