[Q\u0026A] วิธีการหักค่าใช้จ่ายจริงในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องทำอย่างไร เอกสารแบบไหน? | ยื่นแบบ ภงด.94

[Q\u0026A] วิธีการหักค่าใช้จ่ายจริงในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องทำอย่างไร เอกสารแบบไหน?


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

พรี่หนอม @TAXBugnoms มาเล่าให้ฟังถึง วิธีหักค่าใช้จ่ายจริง ในการคำนวณ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ว่าต้องคำนวณอย่างไร แบบไหน ถึงจะสามารถทำได้อย่างเหมาะสมที่สุดครับ
สำหรับคนที่อยากหักค่าใช้จ่ายจริง ให้ลองเช็คตัวเองตามคำถามต่อไปนี้ครับ
1. กฎหมายให้สิทธิเราไหม เพราะกฎหมายให้แค่เงินได้ประเภทที่ 3,58 ถ้าเรามีเงินได้ประเภทนี้ (ที่เข้าข่าย) ถึงจะสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายจริงได้
2. หลักการสำคัญ คือ ค่าใช้จ่ายที่เอามาหัก ต้องเกี่ยวข้องกับที่มาของรายได้ ไม่ใช่หักอะไรก็ได้ แต่ต้องเป็นค่าใช้จ่าย ที่ก่อให้เกิดรายได้ประเภทนั้น
3. จำนวนเงินที่ใช้ ต้องเหมาะสมกับความจริง ไม่ใช่หักแบบทิ้งๆขว้างๆ เพื่อลดภาษีเพียงอย่างเดียว
4. เป็นค่าใช้จ่ายที่กฎหมายไม่ห้ามไว้ เพราะหลักการของบุคคลธรรมดา ที่จะหักค่าใช้จ่ายจริงได้นั้นจะใช้หลักการเดียวกับนิติบุคคลพวกที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน
5. มีหลักฐานให้ตรวจสอบได้ว่ามีการจ่ายแบบนั้นไปจริงๆ เช่น บัญชีรายรับรายจ่าย
และเอกสารประกอบต่างๆ อย่าง ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี หรือแม้แต่บิลเงินสดที่พิสูจน์ผู้รับได้
หรือในกรณีที่ผู้รับเงิน (คนขายหรือให้บริการ) ไม่สามารถออกเอกสารให้เราได้ ให้เราทำใบสำคัญรับเงินให้เขาเซ็น พร้อมแนบรายละเอียดสำคัญๆเช่น สำเนาบัตรประชาชน หลักฐานประกอบการเซ็นรับเงินจากเรา แบบนี้ก็ได้เป็นหลักฐานได้เหมือนกันครับ
แต่พรี่หนอมแนะนำเพิ่มเติมคือ ถ้าเป็นไปได้ โอนเงินผ่านธนาคารก็ดี จะได้มีหลักฐานเพิ่มเติมแบบชัดๆครับ
ยื่นภาษีออนไลน์ ยื่นภาษีปี2562 ยื่นภาษีผ่านเน็ต ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษี วิธีคำนวณภาษี สอนยื่นภาษี ยื่นภาษีเงินได้ วางแผนภาษี รายได้ ค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน ยื่นภาษีด้วยตัวเอง ขอคืนภาษี ขายของออนไลน์ ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร ภาษีธุรกิจ ภาษีขายของออนไลน์ ภาษีอีคอมเมอซ สรรพากร ภาษีคนขายของออนไลน์ เงินเข้าบัญชี หักค่าใช้จ่ายจริง บุคคลธรรมดาหักค่าใช้จ่ายจริง เอกสารที่เป็นรายจ่ายได้
กด Subscribed เป็นกำลังใจให้กันด้วยนะจ๊ะ
ติดตามช่องทางอืนๆของพรี่หนอมได้ที่
FB : http://www.FB.com/TAXBugnoms
Twitter : https://twitter.com/TAXBugnoms
Podcast : http://taxbugnoms.podbean.com/

[Q\u0026A] วิธีการหักค่าใช้จ่ายจริงในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องทำอย่างไร เอกสารแบบไหน?

ภ.ง.ด.3 / ภ.ง.ด.53 ยื่นภาษี หัก ณ ที่จ่าย กรอกเอกสารอย่างไร


ภ.ง.ด.3 คือแบบยื่นเพื่อแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของนิติบุคคล ที่ทำธุรกรรมกับบุคคลธรรมดา ที่เจ้าของธุรกิจ (นิติบุคคล) จะต้องหักออกจากค่าจ้างที่จ้างบุคคลภายนอกให้มาทำงานให้บริษัท
ส่วนภ.ง.ด.53 คือแบบยื่นเพื่อแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ระหว่างนิติบุคคลด้วยกัน ซึ่งเอกสารที่ว่านี้จะต้องนำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปทุกเดือน หากเดือนไหนไม่มีการหักก็ไม่ต้องนำส่ง แต่ถ้ามีการหักแต่ไม่นำส่ง ก็จะถูกเสียค่าปรับนะจ๊ะ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ภ.ง.ด.3 / ภ.ง.ด.53 ได้ที่ https://flowaccount.com/blog/%e0%b8%a0%e0%b8%87%e0%b8%943%e0%b8%ab%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%93%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%88%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a2/
สมัครใช้งาน โปรแกรมบัญชีออนไลน์ FlowAccount ฟรี ได้ที่ https://flowaccount.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้
โทร: 020268989 และ Line: @flowaccount (มี@)
Website FlowAccount คลิก: bit.ly/fbAccountV9_1
Credits
Voice Artist พิมวิภา ป๊อกยะดา
Scriptwriter สราญรัตน์ ไว้เกียรติ
Sound Designer \u0026 Engineer อลงกรณ์ สุขวิพัฒน์
.
ภ.ง.ด.3 ภ.ง.ด.53 FlowAccount NewFlowAccount

ภ.ง.ด.3 / ภ.ง.ด.53 ยื่นภาษี หัก ณ ที่จ่าย กรอกเอกสารอย่างไร

ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี 2563 #ภงด94 : ยื่นแบบไหน ใครต้องยื่น ยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตยังไง?


ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี คือ ภาษีเงินได้บุคคลตัวหนึ่งที่กำหนดให้บุคคลธรรมดาบางกลุ่มมีหน้าที่ยื่นภาษี เมื่อมีประเภทเงินได้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้
โดยต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก (1 มกราคม – 30 มิถุนายน) เกินกว่า 60,000 บาท (กรณีบุคคลธรรมดามีคู่สมรสนั้นจะเป็น 120,000 บาท) ซึ่งรายได้ที่ว่านั้นคือ เงินได้ประเภทที่ 5 ถึง 8 นั่นเอง
อธิบายเพิ่มเติมตามนี้ครับ ภาษีครึ่งปี
1. โดยปกติคนส่วนใหญ่ที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี คือ คนที่มีรายได้จากการทำธุรกิจเป็นหลัก ซึ่งกลุ่มนี้น่าจะมีรายได้สูงจนเกินกว่า 60,000 บาทต่อปีอยู่แล้วครับ
2. คำว่า เงินได้ประเภทที่ 8 หมายถึงรวมเงินได้อื่นๆ อย่างเช่น การขาย LTF หรือ RMF ไปจนถึงเงินได้จากการรับให้ (ภาษีจากการรับให้) ซึ่งตรงนี้ต้องเอามายื่นภาษีครึ่งปีด้วยครับ แต่ในปี 2563 เหมือนว่ากรมสรรพากรจะตัดเมนูการขาย LTF และ RMF ทิ้งไปนะครับ
3. คำว่า เกิน 60,000 บาท ให้ดูจากรายได้ประเภทที่ 5 – 8 ตามกฎหมาย ถ้าหากเงินได้ในกลุ่มนี้รวมกันแล้วเกิน 60,000 บาท คนนั้นก็มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้ครึ่งปี แต่ถ้าหากมีแล้วไม่เกินก็ไม่ต้องยื่นครับ หรือในกรณีที่มีเงินได้ประเภทอื่นด้วย
เช่น กรณีมนุษย์เงินเดือนที่ขายของออนไลน์ (มีรายได้ประเภทที่ 1 และ 8) ก็ให้พิจารณาแต่เงินได้ประเภทที่ 8 เท่านั้น หรือ ฟรีแลนซ์ที่มีบ้านเช่าก็พิจารณาแต่เงินได้ประเภทที่ 5 อย่างเดียวครับ
4. ถ้าหากมีรายได้ถึงเกณฑ์เมื่อไร เรามีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีครึ่งปี ถึงแม้ว่าจะไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีก็ตามครับ
ป.ล. ในคลิปมีพูดผิดนิดนึงนะครับ ต้องบอกว่ามีรายได้เกิน 60,000 บาทขึ้นไป ไม่ใช่ ตั้งแต่ 60,000 บาทนะครับ ขออภัยด้วยจ้า
อ่านบทความเพิ่มเติมฉบับเต็มเกี่ยวกับภาษีเงินได้ครึ่งปีได้ที่
https://taxbugnoms.co/personalhalfyearincometax/
กด Subscribed เป็นกำลังใจให้กันด้วยนะจ๊ะ
ติดตามช่องทางอืนๆของพรี่หนอมได้ที่
FB : http://www.FB.com/TAXBugnoms
Twitter : https://twitter.com/TAXBugnoms
Podcast : http://taxbugnoms.podbean.com/
Website : https://taxbugnoms.co/

ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี 2563 #ภงด94 : ยื่นแบบไหน ใครต้องยื่น ยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตยังไง?

8 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการยืนยันตัวตนบัญชีใหม่กรมสรรพากร


ั้ขั้นตอนการยืนยันตัวตนบัญชีใหม่ในระบบยื่นภาษีทางอินเตอร์เน็ตใหม่ efiling ของกรมสรรพากร สำหรับคนที่มีบัญชีอยู่แล้ว ยืนยันตัวตน กรมสรรพากร efiling ยื่นแบบ ยื่นผ่านเน็ต ภาษีพารวย

8 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการยืนยันตัวตนบัญชีใหม่กรมสรรพากร

อัพเดท! ระบบยื่นภาษี e-Filing แบบใหม่ของกรมสรรพากร เริ่มใช้ปี 2564 มีอะไรที่เราต้องรู้บ้าง ?


สรุป EFiling ระบบยื่นภาษีแบบใหม่ของสรรพากร มีอะไรที่ต้องรู้บ้าง ? พรี่หนอมสรุปให้ฟังครับ
ตั้งแต่ 6 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป กรมสรรพากรจะเปิดให้บริการใหม่ สำหรับการยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ต โดยมีการปรับปรุงใน 3 ด้านหลัก ๆ ดังนี้
เรื่องแรก การลงทะเบียนยื่นแบบ
1. ผู้ประกอบการสามารถยื่นแบบแยกสาขา หรือ รวมสาขาได้ สำหรับกรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิมและธุรกิจเฉพาะ
2. เพิ่มช่องทางของ Service Provider ให้สามารถช่วยยื่นแบบ หรือจัดเตรียมแบบแสดงรายการภาษีให้ได้
เรื่องที่สอง การยื่นแบบแสดงรายการ
1. ระบบช่วยคำนวณค่าความคลาดเคลื่อน ±20 ภาษีที่ชำระ(ขอคืน) สำหรับแบบ ภ.พ.30
2. สามารถยื่นแบบเกินกำหนดเวลาได้แล้ว
3. ระบบจะช่วยคำนวณเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ค่าปรับอาญาที่ประหยัดเงินผู้เสียภาษีมากที่สุดให้ได้
4. ยื่นภาษีผิดไป (ไม่มีชำระ) ยกเลิกแบบเองได้ ยื่นได้ทุกแบบ ทุก Browser และ Save แบบร่างเก็บไว้ได้ด้วยนะ
เรื่องที่สาม การชำระเงิน
สามารถออกใบเสร็จได้ทันทีที่ชำระ อยากชำระแบบไม่ปัดเศษก็ได้
โดยสิ่งทีต้องทำ คือ ยืนยันผู้ใช้งานใหม่ เพื่อให้สามารถใช้ระบบใหม่ได้อย่างสมบูรณ์ สามารถเริ่มได้ตั้งแต่วันนี 31 ธันวาคม 2564 ครับ
อัพเดทล่าสุด : ตอนนี้กรมสรรพากรได้ปิดการใช้งานระบบยืนยันบัญชีผู้ใช้งานชั่วคราว สำหรับคนที่ยืนยันแล้ว สามารถใช้งานระบบใหม่ได้ทันทีในวันที่ 6 ตุลาคม 2564 ดังนั้นในช่วงนี้ให้ยื่นภาษีโดยใช้ ชื่อผู้ใช้ (Username) และ รหัสผ่าน (Password) เดิมก่อน ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้ยืนยันผู้ใช้งานใหม่ ระบบจะเปิดให้ยืนยันอีกครั้งในวันที่ 6 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป
0:00 Intro
0:52 ระบบ efiling
1:22 การลงทะเบียนใหม่
3:02 การยื่นภาษีแบบใหม่
7:28 การชำระภาษีแบบใหม่
8:56 จะใช้ต้องทำยังไง?
10:07 สรุป

อัพเดท! ระบบยื่นภาษี e-Filing แบบใหม่ของกรมสรรพากร เริ่มใช้ปี 2564 มีอะไรที่เราต้องรู้บ้าง ?

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆECONOMY

1 thought on “[Q\u0026A] วิธีการหักค่าใช้จ่ายจริงในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องทำอย่างไร เอกสารแบบไหน? | ยื่นแบบ ภงด.94”

Leave a Comment